พื้นฐานบัญชีใน 10 นาที

เรียนบัญชีใน 10 นาที

ความเป็นมา สนใจจะเรียนด้านบัญชี เพราะจะต้องเขียนโปรแกรมเกี่ยวกับระบบบัญชี แต่ไม่ได้จบมาด้านบัญชี หรือการเงินเลย แต่เชื่อว่า ศึกษาและหาความรู้ได้ หาแบบภาษาไทย ไปก็ดูจะเยอะแล้ว และน่าจะยาวๆ ไม่ค่อยจะ bias เลยนะเรานี้ หาจาก Inter ละกัน ข้อมูลน่าจะเยอะกว่า และดูน่าจะมีมิติ หรือสรุปให้เข้าใจได้ง่ายกว่า เหมาะสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาแบบผมครับ
บัญชี ภาษาอังกฤษคือ Accounting ครับ
นิยามมาก่อนเลย บัญชีไม่มีอะไรไปมากกว่า การบริหารหนี้และมูลค่าสินทรัพย์ที่เรามีอยู่ก็เท่านั้นเอง จบไหม? That is.
หนี้มีค่าเท่ากับเครดิต
เช่น มีหนี้สินมูลค่า 1000 บาท ก็แปลว่า คุณจะต้องมีเครดิต เท่ากับ 1000 บาท เช่นกัน
ไม่เข้าใจใช่ไหม Me too
มีเพียง 2 หมวดเท่านั้นของรายการหนี้ คือ สินทรัพย์ และ ค่าใช้จ่าย
มีเพียง 3 หมวดเท่านั้นของเครดิต คือ Liabilities, Equity ,และ Revenues
แปลออก ตัวสุดท้ายคือ revenues รายได้ ส่วน 2 ตัวแรก แปลไม่ออก เดาไปก่อนตามหลักการ หมายถึง bla ๆๆๆๆๆ
Google translate help me!
ส่วนประกอบของงบดุลนั้นแบ่งได้เป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
1.      ทรัพย์สิน (Asset) หมายถึง มูลค่าของทรัพยากรทั้งหมดที่บริษัทมีอยู่
2.      หนี้สิน (Liability) หมายถึง มูลค่าที่บริษัทเป็นหนี้ และต้องนำไปคืนเจ้าหนี้ (creditor)
3.      ส่วนของเจ้าของ (Owners’ / Stockholders’ Equity) หมายถึง มูลค่าส่วนที่เป็นสิทธิ์ของเจ้าของ (ผู้ถือหุ้น)
ที่นี่เมื่อรู้นิยามแล้วความสัมพันธ์อันสุดยอดของ 3 ตัวนี้ก็คือ
ทรัพย์สิน (Asset) = หนี้สิน (Liabilities) + ส่วนของเจ้าของ (Equity)
แวบเอาข้อมูลจากเวบไทยมาแปะให้นิดหนึ่ง ต่อภาค Inter ดีกว่าครับ
รายได้ คือสิ่งที่เราได้รับเข้ามา  ซึ่งตรงข้ามกับ รายจ่าย คือสิ่งที่เราต้องจ่ายออกไปทุกบิล ทุกรายการ
บัญชี Account หมายถึง รายการตัวเลขและคำอธิบาย  เช่น แพตตี้ 001 เงินสด เป็นต้น
ทุกๆ บัญชี จะแตกออกเป็น 1 ใน 5 หมวด ดังนี้
1 รายชื่อของทุกบัญชี เรียกว่า แผนผังบัญชี
จากนั้นนึกภาพใหญ่ ว่าทุกบัญชี ก็จะมีรายการต่างๆ ทางบัญชี และจบด้วยยอดดุลปัจจุบัน
งงลิซิ ไม่ได้เรียนมา แปลตามตัวก็แบบนี้แหละ Keep going อย่ายอมแพ้ ดันทุรังต่อ เพื่อเจอทางออก
ยกตัวอย่างสมุดเงินฝาก ยกมาทำไม ?
0110 เงินสด                          0.00
ฝาก                                        10.00
ถอน                                        -5.00
ฝาก                                        20.00
คงเหลือ                                  25.00
มาถึงตอนนี้ ตอนที่คุณมี รายการบัญชี แสดงแบบนี้ แบบที่ยกตัวอย่างและ จบลงด้วยสมุดเล่มใหญ่ Big book คืออะไรนะ จะสื่ออะไร ?????????
ไม่ว่าจะเป็นแบบเล่มบัญชี หรือแบบ อิเล็กทรอนิกส์ สมุดแบบนี้ก็จะเรียกว่า General Ledger คืออะไรดีละ แปป

สมุดบัญชีแยกประเภท (Ledger) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

          1. สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger)  เป็นสมุดที่รวบรวมหรือคุมยอดของบัญชีแยกประเภททุกบัญชี ซึ่งใช้บันทึก การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ (ทุน) ต่อจากการบันทึกลงในสมุดรายวันทั่วไป ได้แก่ บัญชีแยกประเภท สินทรัพย์ เช่น บัญชีเงินสด  บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้า บัญชีวัสดุสำนักงาน บัญชีอาคาร เป็นต้น  บัญชีแยก ประเภทหนี้สิน เช่น บัญชีเจ้าหนี้การค้า บัญชีเงินกู้ บัญชีเจ้าหนี้อื่น ๆ เป็นต้น  บัญชีแยกประเภทส่วนของเจ้าของ เช่น บัญชีทุน บัญชีรายได้  (Income)  บัญชีค่าใช้จ่าย (expense) และบัญชีถอนใช้ส่วนตัว
          2.  สมุดบัญชีแยกประเภทย่อย (Subsidiary Ledger) เป็นที่รวบรวมของบัญชีแยกประเภทย่อยของบัญชีคุมยอด (Controlling Accounts) ในสมุดแยกประเภททั่วไป เช่น สมุดบัญชีแยกประเภทลูกหนี้รายตัว บัญชีเจ้าหนี้รายตัว ซึ่งยอดรวมของบัญชีแยกประเภท รายตัวทั้งหมดจะเท่ากับยอดรวมในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป

          รูปแบบของบัญชีแยกประเภท ที่นิยมใช้กันทั่วไปมี 2 แบบ

           1.  แบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (แบบมาตรฐาน) มีลักษณะคล้ายตัวอักษรภาษาอังกฤษ คือตัว T ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ทางด้านซ้ายมือคือด้านลูกหนี้หรือเดบิต (Debit)  ทางด้านขวามือคือด้านเจ้าหนี้หรือด้านเครดิต (Credit)
2.  แบบบัญชีแยกประเภทย่อย (แบบแสดงยอดดุล) มีลักษณะคล้ายกับรูปแบบของสมุดรายวันทั่วไป แต่มีช่องยอดคงเหลือ เพิ่มขึ้นมา เพื่อแสดงรายการคงเหลือทุกครั้งที่มีการบันทึกรายการและเมื่อต้องการทราบยอดคงเหลือ

ต่อภาค Inter
ถึงตอนนี้ สมมุตว่า คุณจะต้องการดู รายการ สมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger)  โดยไม่ต้องมีรายละเอียดที่ไม่จำเป็น ????
คุณต้องการเฉพาะ เลขบัญชี รายการ และยอดคงเหลือ
สั้นๆ กระชับ แบบนี้ ภาษาบัญชีเขาเรียนว่า Trial Balance มาอีกตัวแล้ว แง๊วๆๆๆๆ คืออะไรดีหว้า ?
Credit: http://www.pw.ac.th/emedia/media/tech/accounting1/lesson6.php
งบทดลอง (Trial Balance) คือ งบที่ทำขึ้นเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกบัญชี แต่การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวัน ทั่วไป การผ่านรายการ จากสมุดรายวันทั่วไป ไปบัญชีแยกประเภท และการหายอดคงเหลือด้วยดินสอ  จากรายการค้าทุกรายการ  ผลรวมด้านเดบิต ของทุกบัญชี ควรจะต้องเท่ากับผลรวมด้านเครดิตของทุกๆบัญชี   หลังจากจากผ่านรายการจากสมุดรายวันทั่วไป ไปยังบัญชีแยกประเภทแล้ว ขั้นต่อไปคือการหายอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภทโดยทั่วไปนิยม หาด้วยดินสอ  (Pencil Footing)  เพื่อป้องกันการผิดพลาดและหากต้องการแก้ไขก็จะทำได้โดยสะดวก
การหายอดคงเหลือ
           1.  หายอดรวมทางด้านเดบิตและเครดิตของบัญชีทุกบัญชีในแยกประเภท
           2.  นำยอดรวมทั้งสองด้านมาลบเพื่อหายอดคงเหลือ
           3.  นำผลลัพธ์ที่ได้ไปเขียนไว้ทางด้านที่เหลืออยู่คือด้านที่มากกว่า

แปะไว้ก่อน แล้วค่อยมาต่อวันหลัง
เรียนบัญชี ก็ไม่ง่ายนะเนี่ย แถมไม่สนุกอีกด้วย ไปเล่นกีฬาก่อนดีกว่า
               



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น