การใช้งาน PivotTable บน Ms Excel

ในตอนที่ผ่านมา เราได้ศึกษา และเรียนรู้พื้นฐานการใช้งานตาราง Excel ในการป้อนข้อมูล รวมทั้ง การจัดรูปแบบข้อมูลต่างๆ เป็นที่เข้าไปไปแล้ว สำหรับเนื้อหาตอนนี้จะมาแนะนำการใช้เครื่องมือในการตรวจสอบและวิเตราะห์ข้อมูล ของโปรแกรม Excel ที่มีประสิทธิภาพอีกตัวหนึ่งคือ PivotTable

ขั้นตอน การเรียกใช้งาน PivotTable บนเอ็กเซล เป็นทูล ที่มีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ใช้งานในการคำนวณ การสรุป และการวิเคราะห์ข้อมูลในตารางเอ็กเซล เพื่อการเปรียบเทียบ การศึกษารูปแบบ และทิศทางแนวโน้มของข้อมูล
ก่อนอื่นเพื่อความเข้าใจในเนื้อหาและวิธีการ ขอให้ผู้เรียนได้เปิดไฟล์ Excel และเตรียมข้อมูลประกอบ ตามตัวอย่างดังนี้ครับ

วันที่ คนซื้อ รายการ จำนวน
25/07/2561 พ่อ น้ำมัน 500
26/07/2561 แม่ น้ำหอม 1500
27/07/2561 น้องชาย โทรศัพท์ 7900
28/07/2561 น้องสาว หนังสือ 500
29/07/2561 เราเอง คอมพิวเตอร์ 18900
30/07/2561 พ่อ ชั้นวางหนังสือ 3200
31/07/2561 เราเอง สมุดรายงาน 99
1/08/2561 พี่สาว ขนมเค้ก 399

การสร้าง PivotTable


เริ่มต้นจากการคลิกเพื่อเลือกขอบเขตข้อมูลที่ต้องการจะสร้าง



Note: ตารางข้อมูลไม่ควรจะมีค่าว่าง และ และมีหัวของแถวเพียงแถวเดียว


ไปที่เมนูแทรก หรือ Insert > PivotTable.


ภายใต้ตัวเลือก เลือกข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ , ให้เลือก ตาราง หรือ แถบข้อมูล


ในช่อง Table/Range, ตรวจสอบขอบเขตข้อมูล .


ภายใต้กรอบตัวเลือก ให้เลือกตัวเลือกการทำงาน ว่าจะแสดงข้อมูลตรงไหน , เลือก New worksheet เพื่อแสดงข้อมูลออกไปยังไฟล์ตัวใหม่ หรือ เลือก Existing worksheet จากนั้นระบุตำแหน่งที่ต้องการแสดงข้อมูล


ตอบ OK.
การเลือกข้อมูลเพื่อแสดงผลตามการวิเคราะห์

Building out your PivotTable


การเพิ่มช่องข้อมูลเพื่อแสดงใน PivotTable, ติ้กที่ช่องตัวเลือกข้อมูล PivotTables Fields pane.
ตามตัวอย่าง จะเลือก 3 ค่า คือ คนซื้อ   รายการ    และ จำนวน



สอนการใช้งานฟังก์ชัน SUMIFS

จากตอนที่แล้ว ได้สอนการใช้งาน ฟังก์ชันผลรวมของ Excel แบบมีเงือนไข สำหรับในวันนี้ จะได้มาสอนการใช้งานฟังก์ชันอีกรูปแบบ คือ การใช้งานผลรวมแบบหลายเงื่อนไข SUMIFS
ในบางครั้งการตรวจสอบและการวิเคราะห์ข้อมูลก็จะมีความสำคัญและความจำเป็นของการ แสดงผลรวม Sum แบบหลายเงื่อนไข แต่เราก็ไม่ต้องห่วง เพราะโปรแกรม Ms Excel ได้เตรียมสูตร หรือฟังก์ชันใช้งาน ให้เราสามารถ ใช้งานกันได้ไม่ยาก เกินไป โดยมีวิธีการดังนี้
1 สมมุตติ เรามีไฟล์ข้อมูล รายงานการขายสินค้า ของร้าน แห่งหนึ่ง ซึ่งก็ขายดีพอสมควร พอมีกำไร ต้องจ้างพนักงานขาย หลายคน มาช่วยกันขาย สินค้า

เราสามารถ สรุปยอดรวมการขายสินค้าของแต่ละคน โดยใช้ฟังก์ชัน SUMIFS แบบนี้
มาดูขั้นตอนกันเลย

ก่อนอื่นให้เราฝึกการเตรียมข้อมูล สำหรับการฝึกใช้งานผลรวมแบบหลายเงื่อนไข ตามตารางนี้
จำนวน สินค้า พนักงานขาย 
2 ปลาเส้น ก้อย
5 น้ำตาล โป้ง
4 รสดี ก้อย
8 กล้วยหอม สมชาย
7 ข้าวสาร ก้อย
6 ปลาเส้น โป้ง
3 ปลาเส้น สมชาย
15 ปลาเส้น ก้อย
4 ขนมถั่วตัด โป้ง
ก้อย ปลาเส้น 17


1 เริ่มจาการคลิกเซลส์ที่ต้องการ
2 พิมพ์ =SUMIFS (
3 เลือกขอบเขตข้อมูลที่ต้องการผลรวม และใส่ คอมม่า
4 เลือกขอบเขตเงื่อนไขแรก ตามด้วย คอมม่า
5 เลือกเงื่อนไข แล้วพิมพ์ คอมม่า
6 เลือกเงื่อนไขที่สอง และใส่ คอมม่า
7 เลือกขอบเขตเงื่อนไแล้วใส่ คอมม่า
8 กด Enter