Class Room Qrcode attendance Part 1

 Scenario 

A teacher in a primary or 2ND school who want to have a tiny database system in order to manage his/her classroom via internet network and mobile application.


 You need to have 

Basic computer skill ,Ms Excel ,and internet skills

Computer PC orLaptop 

MObile phone android or iOS

internet network or Mobile phone network

First step 

Go to google Drive and select Google Sheet to make a table for keeping database information 

Type the table name as Student Time In 

Name the colunm as follow

  1. Student Name
  2. Photo
  3. Home address
  4. City
  5. Phone
  6. Class 
  7. Date
  8. Time In 
  9. Attend
  10. Reason 
  11. Qrcode    
  12. Student ID

Next Step

Go to Appsheet 

Create New App and Name as Student Attend

Select Google as a resource database 

On data menu click on column View 

Look for the data type of each column as follow

  1. Student Name        as Text 
  2. Photo           as image
  3. Home address        as Text 
  4. City     as Text 
  5. Phone      as Text 
  6. Class   as ENUM**
  7. Date            as Date
  8. Time In         as Time
  9. Attend         as YES/NO
  10. Reason         as ENUM***
  11. QRcode    as Image*
  12. Student ID           as Text and Mark as Key UNIQUEID 


** For Class as Enum 

add new value for simple select as follow

Grade 1

Grade 2

Grade 7

Highe School

etc.

*** For Reason as Enum add new value to select as follow

Sick Leave

Personal Leave

Absent

Qrcode    as Image* 

add the url in order to generate the student Qrcode automatically as follow

"https://barcode.tec-it.com/barcode.ashx?data="&[MYID]&"&code=MobileQRCode&dpi=96&dataseparator="



Next Step 

ON UX menu choose Form and Save

Next step

input some students as sample

Student A 

Student B

Student C




 


การเปรียบเทียบค่าระหว่างคอลัมน์ Google Sheet

 การทำระบบตารางข้อมูล คะแนนสอบนักเรียนวิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ใน 1 ปี มี 2 เทอม คะแนนสอบของนักเรียนแต่ละคน แต่ละเทอม จะมี 3 ค่า คือ ได้มากขึ้น ลดลง และเท่าเดิม 

หาคนที่ได้คะแนนเท่าเดิม โดยการเทียบค่า 2 คอลัมนน์กัน 

ใส่ = B2 = B3

จะได้ค่าเป็นค่า จริงค่าเท็จ 

TRUE/ FALSE

สำหรับการเทียบค่าข้อมูล เหมือนกัน หรือ แตกต่างกัน ระหว่าง 2 คอลัมน์ ในลักษณะนี้ ผู้สนใจ สามารถนำไป ปรับใช้งาน ตามรูปแบบของตนเองที่ต้องการได้ครับ อาจจะปรับปรุงค่าสูตรเล็กๆ น้อยๆ ก็ลองนำไปฝึกฝนและลองทดสอบกันดู 



การแปลงค่า TRUE/FALSE จริง/เท็จ ให้เป็นข้อความ 

หลักการทำก็จะคล้ายเดิม 

เริ่มจากเลือกคอลัมน์ที่ต้องการใส่ค่าสูตร 

ใส่สูตรเป็น =IF(A2=B2,”เหมือน”,”ไม่เหมือน”)


การหาค่าซ้ำของตาราง Google Sheet โดยสูตร COUNT IF

 การมีข้อมูลซ้ำในตาราง Google sheet นั้น เราไม่ต้องการ ก็จำเป็นต้องกรองออก โดยใช้วิธีการต่างๆ ได้หลายวิธีกันครับ สำหรับการฝึกการกรองค่าซ้ำออกจากตารางในวันนี้จะใช้สูตรการนับค่าซ้ำกันครับ 

เริ่มจากเปิดตารางข้อมูลที่ต้องการขึ้นมา 

เพิ่มหัวคอลัมน์เป็น หาค่าซ้ำ 

จากนั้นในช่องแรก ใส่สูตร =COUNTIF(A2:A,A2)

คำแปลสูตร คือ จงนับค่าของคอลัมน์ A2 ของ คอลัมน์ A โดยนับว่าค่า A2 เป็นต้นไป มีค่าซ้ำหรือไม่ 


แล้ว กด Enter 

จะได้จำนวนตัวเลขแสดงค่าซ้ำของข้อมูลขึ้นมาเป็นตัวเลข 2 หรือ 3 ขึ้นอยู่กับค่าที่มันซ้ำ 

 

ปรับค่าสูตรเพื่อแปลงตัวเลขเป็นค่า จริงค่าเท็จ TRUE/FALSE

โดยเพิ่มค่า มากกว่า 1 ต่อท้ายสูตร =COUNTIF(A2:A,A2)>1

และเพิ่มสัญญลักษณ์ $ หน้า A คอลัมน์ 

จะเป็นแบบนี้ 

=COUNTIF($A2:$A,$A2)>1


คัดลอกสูตรต้นแบบ เพื่อใช้งานกับทุกแถว 


การระบบแถบสี แถวที่มีค่าซ้ำ โดยการ คัดลอกสูตร ไว้ แล้วไปที่ คอมลัมน์ A เลือกช่วงที่ต้องการทั้งคอลัมน์ A หรือ บางส่วนก็ได้ 

จากนั้นบนเมนู รูปแบบ ไปที่ จัดรูปแบบตามเงื่อนไข ดูช่วงที่ต้องการอีกครั้ง A2:A


จากนั้นใส่ค่าสูตรที่กำหนดเอง 

วางสูตรที่คัดลอก ลงในช่องสูตร 

=COUNTIF($A2:$A,$A2)>1

สามารถปรับสีของแถบระบายเป็นสีอื่นๆ ตามที่ต้องการ หรือจะใช้สีที่เริ่มต้นเลยก็ได้ 



ทางเลือกการจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์

 สำหรับวันนี้ บทความสั้นๆ วันนี้ thaifreewaredownload.com จะมานำเสนอข้อมูลสรุปความรู้ในเรื่องของ ตัวเลือกการจัดเก็บข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์กันครับ

การเก็บข้อมูล Storage 


ตัวเลือกแรก คือการเก็บแบบไฟล์ File แบบนี้เหมาะสมสำหรับการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ เช่น รูปภาพ แผนผัง และไฟล์มีเดียต่างๆ พวก วีดีโอ เพลง เป็นต้น 


ตัวที่สองคือ Shared Preferences เป็นการเก็บค่าที่สามารถเลือกตัวเลือกของใช้งานร่วมกัน เช่น หน่วยวัดความยาว เป็น เมตร กิโลเมตร ไมล์ หลา เซนติเมตร เป็นต้น 


แบบที่สาม SQLite Database เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบของตารางหรือ Table แบ่งย่อยเป็นแถว เป็นคอลัมน์  จะเหมาะสำหรับเก็บข้อมูลจำนวนมาก และมีความสัมพันธ์กัน และง่ายในการสรุปและสืบค้น นิยมเก็บข้อมูลที่เป็น text หรือข้อความ มักจะมีการขยายปริมาณมากขึ้น แต่ยังง่ายในการสืบค้น 


คำศัพท์ ที่เจอบ่อย 

Rows แถวแนวนอนหรือระนาบ 

Columns  แถวแนวตั้งหรือดิ่ง 

Attributes  การแยกเก็บข้อมูลในรูปแบบตารางข้อมูล

การออกแบบฐานข้อมูล เราต้องศึกษา โครงสร้างฐานข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ ว่าจะใช้เป็นชื่อของตาราง ชื่อของคอลัมน์ 

ตารางฐานข้อมูลที่แนะนำคือ Google Sheet 

ระบบฐานข้อมูลในชีวิตจริง 

เช่นฐานข้อมูลการเงินการธนาคาร

ฐานข้อมูลสายการบิน 


SQLite เปรียบเทียบกับ ห้องสมุด ที่โปรแกรม แอนดอยน์ สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นระบบเปิด ที่ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถใช้งานได้ฟรี 


ขั้นตอนการติดตั้ง SQLite 

1 ดาวโหลด SQLite 

2 สร้างโพลเดอร์ C:\sqlite  แล้วแตกไฟล์ที่โหลดมาจากขั้นตอนแรก มาเก็บ จำนวน 3 ไฟล์ด้วยกัน 

3 เพิ่ม C:\sqlite ไปที่ PATH environment variable

4 ทดสอบการทำงาน โดยไปที่คำสั่ง CMDของวินโดว์ พิมพ์ sqlite3




การเทียบค่าซ้ำของข้อมูลบนตาราง Google Sheet

 การบันทึกข้อมูลบน Google Sheet ในบางครั้งอาจจะมีค่าของข้อมูลที่ตรงกัน หรือไม่ตรงกัน เราต้องการเทียบค่าว่ามีรายการอะไรบ้าง ในการนำไปประยุกต์ใช้งานตามวัตถุประสงค์ และความต้องการของเราต่อไป 

ยกตัวอย่าง ผมมีรายการข้อมูล รหัสสินค้าอยู่ 20 รายการ และคอลัมน์ รหัสสินค้าที่มีการขายออกไป สัก 8 รายการ 

ผมต้องการทราบว่า รายการอะไรบ้างที่มีการขายออกไป และรายการใดบ้างไม่มียอดขายออกไป เราสามารถเทียบข้อมูล ว่ามีรายการตรงกันหรือไม่ โดยใช้คำสั่ง การจัดรูปแบบตามเงื่อนไข และใส่ค่าสูตรแบบกำหนดเอง Custom เพื่อให้มีการระบายแถบสี เฉพาะรายการที่มีการขายไป 

การลบค่าซ้ำออกอัตโนมัติตารางงาน Ms Excel

 โปรแกรมตารางคำนวณ Ms Excel นั้น เราสามารถใช้งานเป็นตารางฐานข้อมูล เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ ตามที่เราต้องการได้ 

เช่นข้อมูล สินค้าคงคลัง

ข้อมูลพนักงาน 

ข้อมูลการเงินการบัญชี เป็นต้น 


อย่างไรก็ตาม ในการบันทึกข้อมูลนั้น เราอาจจะมีการบันทึกข้อมูลจำนวนมากๆ เป็นพันๆ หรือหมื่นๆ รายการ อาจจะมีโอกาสการ บันทึกค่าซ้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ 

เราสามารถใช้คำสั่งในการลบค่าซ้ำออกอัตโนมัติได้ โดยใช้เครื่องมือที่ Ms Excel ได้เตรียมไว้ให้เรานำมาใช้งาน ง่ายๆ ดังนี้ 

ขั้นแรก ก็เปิดไฟล์งาน ตารางMs Excel ที่ต้องการขึ้นมาก่อน

ขั้น 2 ให้คลิกที่คอลัมน์ที่ต้องการกรองค่าซ้ำออก 

ขั้น 3 บนแถบเมนูบาร์ คลิก ข้อมูล > เลือก เอารายการที่ซ้ำกันออก 




สร้างแอพสำหรับบริหารและจัดการระบบรถเช่า ด้วย Appsheet ตอน 2

 การสร้างตารางเก็บข้อมูล ผู้เช่ารถไปขับรายวัน 

ไปที่ google sheet สร้างตารางขึ้นมา กำหนดชื่อเป็น ผู้เช่า 

รหัสผู้เช่า

คิวอาร์โค้ด 

รูปถ่าย

ชื่อ-สกุล

ที่อยู่

อำเภอ

จังหวัด

เบอร์ติดต่อ

วันเดือนปีเกิด

วันที่บันทึกข้อมูล


ขั้น 2 ไปที่ appsheet เพื่อกำหนดรูปแบบของแต่ละคอลัมน์ ให้เหมาะสมกับชนิดข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ


ขั้น 3 ไปที่ส่วนติดต่อผู้ใช้งาน UX เพิ่มมุมมอง View เป็น Form เพื่อบันทึกข้อมูลของ ผู้เช่าเข้ามาในระบบ ประมาณ 2-3 คน เพื่อเป็นตัวอย่าง



สำหรับตัวอย่างการทำ สามารถเข้าไปชมได้จากคลิปวีดีโอ ครับ



สร้างแอพสำหรับบริหารและจัดการระบบรถเช่า ด้วย Appsheet ตอน 1

 ตัวอย่างการสร้างแอพด้วยตนเอง 

Scenario เจ้าของกิจการรถตู้หรือรถแท็กซี่ให้เช่าจำนวน 10-20 คัน 

ต้องการระบบฐานข้อมูลในการบริหารจัดการกิจการของเรา โดยใช้แอพฟรีมาช่วยในการจัดการ 

ขั้นตอนแรก สร้างตารางจัดเก็บข้อมูล ทรัพยากรระบบของเรา คือ รถตู้และรถแท็กซี่ จำนวน 5-10 คัน 

ไปที่ Google drive สร้างตารางข้อมูล Google sheet 

โดยตั้งชื่อตารางว่า รถเช่า 

และกำหนดคอลัมน์ในการจัดเก็บข้อมูล จำนวน 11 รายการดังนี้ 

  1. รหัสรถยนต์ Auto
  2. คิวอาร์โค้ดรถยนต์
  3. รูปภาพ
  4. ยี่ห้อ
  5. รุ่น 
  6. สี
  7. เลขทะเบียน
  8. จังหวัด
  9. ปี พ.ศ.
  10. ราคา
  11. วันที่ซื้อ



ขั้น 2 ไปที่หน้าเวบไซต์ Appsheet 

สร้างแอพขึ้นมา ตั้งชื่อแอพว่า บริหารงานรถเช่าABC

ระบุ Souce หรือแหล่งฐานข้อมูลในการสร้างแอพเป็น Google Drive และเลือกตาราง รถเช่า 

ขั้น 3 ให้เรานำเข้าข้อมูล input ข้อมูล โดยผ่านหน้าแอพ Appsheet Form และบันทึกข้อมูล ให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่เราต้องการ 


จบขั้นตอนที่ 1 ขอให้ติดตามต่อในตอนที่ 2 จะเป็นการสร้างตาราง บันทึกข้อมูล คนที่มาขอเช่ารถไปขับ ในแต่ละวัน 

เราต้องสร้างตาราง และต้องการเก็บข้อมูลเพิ่ม หรือ ดึงข้อมูลจากตาราง รถเช่ามาใช้งานบางส่วน ตามที่เราต้องการต่อไป



ชมคลิปสอน

พื้นฐานการใช้งาน lookup function ใน appsheet

 โดยหลักการของ  lookup function ใน appsheet  ขอยกตัวอย่างประกอบง่ายๆ เพื่อความเข้าใจ 

เราต้องสร้าง table หรือตารางขึ้นมา 2 ตาราง และบันทึกข้อมูลที่ต้องการดังนี้ 

สมมุต บันทึกข้อมูลรายการ ข้อมูลของนักเรียนในห้องมัธยมปีที่ 4 / 1 โรงเรียน xyz 

จากนั้น ในตารางที่ 2 สร้างตารางเพื่อบันทึก เวลามาเรียนของนักเรียน 


โดยทั้งสองตารางจะมี คอลัมน์ รหัสนักเรียน เป็นรหัสอ้างอิง เมื่อมีการ เลือกรหัสนักเรียน มาบันทึกแล้ว ค่าอื่นๆ ที่เหลือ เช่น ชื่อ สกุล ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ จะถูกมองหา และบันทึกอันโนมัติ นั้นเอง 

โดยไม่จำเป็นต้อง บันทึกเองให้เสียเวลา 

ข้อมูลตารางแรก ชื่อตาราง Student

รหัสนักเรียน

คำนำหน้าชื่อ

ชื่อแรก

นามสกุล

ที่อยู่

เบอร์โทร

วันที่บันทึก


ตารางที่ 2 ชื่อ บันทึกเวลามาเรียน

วันที่

เวลา

รหัสนักเรียน 

คำนำหน้าชื่อ 

ชื่อแรก

นามสกุล

ที่อยู่

เบอร์โทร 


ไปที่ เวบ appsheet 

สร้าง New App 

ตั้งชื่อแอพ ว่า student in

นำเข้าข้อมูลจากตารางที่เราพึ่งสร้างขึ้นมา 

เข้าไปที่คุณสมบัติข้อมูล แผ่น 1 

แล้วแก้ไข ชนิดของข้อมูล  

รหัสนักเรียน  text

คำนำหน้าชื่อ

ชื่อแรก  text 

นามสกุล  text 

ที่อยู่   text 

เบอร์โทร   phone 

วันที่บันทึก  date

สำหรับแผ่น 2 

เข้าไปที่คุณสมบัติข้อมูล แผ่น 1 

แล้วแก้ไข ชนิดของข้อมูล  

รหัสนักเรียน  text

คำนำหน้าชื่อ

ชื่อแรก  text 

นามสกุล  text 

ที่อยู่   text 

เบอร์โทร   phone 

วันที่บันทึก  date


หลักการคือ ต้องมี Key หลักของแต่ละตารางในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กัน หรือจะเรียนกว่า Ref 

คอลัมน์ 



ในตัวอย่างนี้ ให้ใช้ คอลัมนน์ รหัสนักเรียนเป็น Key และชนิดข้อมูลเป็น ref จากแผ่น 1 

จากนั้น ในช่องของคอลัมน์ คำนำหน้าชื่อ ชือ นามสกุล และ อื่นๆ ที่เหลือ จะสามารถเรียนข้อมูลจาก แผ่น 1 มาเติมอัตโนมัติ โดยใช้ฟังก์ชั่น lookup ดังกล่าว

ในคอลัมน์ คำนำหน้าชื่อ ไปที่ app formula ใส่ค่าเป็น [รหัสนักเรียน].[คำนำหน้าชื่อ]

และ ทำต่อลักษณะเดียวกัน กับคอลัมน์อื่นๆ ที่เหลือ จนครบตามต้องการ 

สามารถดูตัวอย่างจากคลิปวีดีโอ บนช่องยูทูป ได้ครับ