ตอนที่สาม เราจะมาสร้างฟอร์มสำหรับให้ คนกรอกข้อมูลที่เราต้องการจัดเก็บ กรอกเข้ามากัน
แท็กแรกของฟอร์ม
<form>
..... ใส่ส่วนต่างๆของแบบฟอร์ม เช่น ข้อความให้กรอก ตัวเลือกให้คลิก และคำสั่งให้เริ่มการทำงาน
</form>
เราเขียนง่ายๆ โดยใช้แท็ก input หรือนำเข้าข้อมูล
เราจะได้รู้จัดชนิดของข้อมูล คือ text หมายถึงข้อความ
ปุ่ม radio ไม่ใช่วิทยุนะครับ คือปุ่มที่สามารถให้เลือกข้อมูลตามที่เราต้องการได้
แท็ก <label> </lable> สำหรับเขียนป้ายข้อความกำกับ
ปุ่มบันทึกข้อมูล save หรือปุ่ม submit เพื่อให้ code คำสั่งที่เรากำลังเริ่มต้นศึกษา ทำงานหรือ take action ตามที่เราต้องการกัน
ตามตัวอย่าง เก็บข้อมูล ชื่อแรก first name
ข้อมูลนามสกุล Lastname
ข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ phone
และข้อมูลระดับชั้นการเรียน class
<form>
<label for="Firstname"> Firstname:</label><br>
<input type="text" id="Firstname" name="Firstname"><br>
<label for="Lasttname"> Lastname:</label><br>
<input type="text" id="Lastname" name="Lastname"><br>
<label for="phone"> phone:</label><br>
<input type="text" id="Phone" name="Phone"><br>
<input type="radio" id="A1" name="class" value="อนุบาล 1">
<label for="A1"> อนุบาล1:</label><br>
<input type="radio" id="A2" name="class" value="อนุบาล 2">
<label for="A2"> อนุบาล2:</label><br>
<input type="radio" id="A3" name="class" value="อนุบาล 3">
<label for="A3"> อนุบาล3:</label><br>
<input type="submit" value="Submit"><br>
</form>
เมื่อจบบทนี้ เราควรได้รู้จักวิธีการสร้างแบบฟอร์มพื้นฐานที่สุดกัน เพื่อนำไปต่อยอด ความรู้และฝึกฝนเพิ่มเติมในโอกาสหน้า