Thai Access school library v.1.1

 สำหรับโปรแกรมนี้เป็นการประยุกต์ความรู้พื้นฐานโปรแกรมระบบงานฐานข้อมูล MS Access ในการจัดทำระบบบริหาร จัดการข้อมูล ห้องสมุดของโรงเรียน หรือสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการฟรีโปรแกรม หรือระบบงานฐานข้อมูลห้องสมุดเล็กๆ ในการช่วยจัดการระบบงานของคุณ 

องค์ประกอบหลักๆ ของระบบงาน 

  • ระบบบันทึกข้อมูลหนังสือ 
  • ระบบสมาชิกห้องสมุด 
  • ระบบเจ้าหน้าที่ดูแลห้องสมุด 
  • ระบบบันทึกข้อมูลการยืมหนังสือ พร้อมตัดยอดอัตโนมัติ
  • ระบบบันทึกการคืนหนังสือ พร้อมคืนยอดเข้าระบบอัตโนมัติ
  • ระบบสืบค้นข้อมูลสมาชิก 
  • ระบบรายงานยอดหนังสือคงเหลือในห้องสมุด


ความต้องการของระบบ 

ระบบปฏิบัติการ :Windows7/8/10/11

โปรแกรมสำนักงาน : Ms Access 2013/2016/365

เครื่องพิมพ์ชนิด หัวพ่นหมึก หรือเลเซอร์ สำหรับพิมพ์หลักฐานการยืมหนังสือ (option)

แฟ้มเก็บเอกสารการยืม/คืนหนังสือ (option)

ออกแบบพัฒนามาโดยแอดมินบล็อก thaifreewaredownload.com ผู้สนใจสามารถนำไปใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

download file : Thai Access school library V.1.1



คำแนะนำพื้นฐานการใช้งาน 

นำเข้าข้อมูลหนังสือ ประกอบด้วย ข้อมูลสำคัญคือ รหัสหนังสือ ชื่อหนังสือ จำนวนของหนังสือ และรูปภาพปกหนังสือ

นำเข้าหรือแก้ไขข้อมูลตัวอย่าง เจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ ผู้ดูแลห้องสมุด

นำเข้าข้อมูลนักเรียน หรือสมาชิกห้องสมุดโรงเรียน 

การจ่ายยืมหนังสือ และบันทึกการคืนหนังสือ จะมีการตัดยอดและคืนยอด หนังสือแบบอัตโนมัติ 

ดูตัวอย่างสาธิตการใช้งานโปรแกรมในคลิป ด้านล่าง

หากท่านผู้อ่านมีปัญหาข้อสงสัย เกี่ยวข้องกับการใช้งาน สามารถฝากคำถามใน comments ใต้บทความนี้เลยนะครับ แอดมินยินดีให้คำตอบและแก้ไข ปัญหาข้อขัดข้องในการใช้งาน ต่อไป ครับ 

วิธีปรับเสียงไมค์บันทึกให้ชัดเจน windows10

 ปัญหาของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ระบบ WIndows10 ที่อาจจะพบได้บ่อยๆ คือการอัดเสียงพูดหรือเสียงบรรยายหน้าจอประกอบสื่อการเรียนการสอน เช่น 

Ms Powerpoint

Audacity 

Camtesia Studio เป็นต้น 

ถ้าเราไม่มีไมค์ภายนอกมาเชื่อมต่อ ก็จะยังสามารถอัดเสียงพูด หรือพูดเข้าไปในเครื่องได้เช่นกัน แต่พอบันทึกและนำไปเปิดฟังแล้ว เสียงอาจจะเบา และมีเสียงรบกวนได้ 

สำหรับคนที่ไม่มีไมค์ภายนอกมาต่อ และต้องการอัดเสียงให้มีความดังความชัดเจนให้เพียงพอที่จะสื่อความหมายให้คนฟังเข้าใจนั้น 

ให้ลองปรับค่าการตั้งค่าการควบคุมเกี่ยวกับเสียงบน windows10 ง่ายๆ ดังนี้ 

มองหาไอคอ่น ลำโพง ที่ทาส์กบาร์ล่างขวามือ 


คลิกเม้าส์ขวาเปิดคำสั่งเมนูควบคุมเสียงขึ้นมา เลือก sound เพื่อเปิดเข้าไปดูคำสั่งการควบคุมภายใน 


คลิกที่แท็บการบันทึกเสียง Recording >Property 

คลิกที่แท็บ Level เลื่อนสไลด์บาร์ ให้สุดทางด้านขวา 

คลิก ตกลง


จบขั้นตอน ต่อไปเสียงที่เราพูดเบาหรือพูดห่างไมค์ ก็จะมีเสียงดังชัดเจน สื่อสารให้ผู้ฟังเข้าใจได้มากขึ้น 

หากมีคำถาม หรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการตั้งค่าเสียง บนวินโดว์ สามารถโพสต์คำถามข้อสงสัยใต้โพสต์นี้โดยตรง ของพระคุณผู้อ่านทุกท่านครับ 

ฝากกดแชร์ ถ้ามีประโยชน์ครับ 

Debut Video Capture

 สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการโปรแกรมฟรีแวร์สำหรับการบันทึกหน้าจอคอม แล้วตัดต่อแล้วแชร์ลงยูทูป ซึ่งก็จะมีหลายโปรแกรมด้วยกัน ให้เลือกใช้งาน และ Debut Video Capture ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับคนที่ยังไม่พร้อมจ่ายเงินเพื่อใช้โปรแกรมเต็มๆ อย่าง iSpring หรือ Camtasia เป็นต้น 

ดาวโหลด : Debut Video Capture

ความสามารถ : 

จับภาพหน้าจอคอมพร้อมกล้องเว็บแคม 

จับภาพตามกรอบที่เลือก หรือ จับทั้งหน้าจอ Windows


หลังดาวโหลดและติดตั้งเปิดใช้งานจะพบ UI ที่ง่ายต่อการใช้งานสำหรับผู้เริ่มต้น หรือมือใหม่ 

คลิก Windows จะมีตัวเลือกพื้นที่จับภาพหน้าจอ บางส่วน หรือ ทั้งหมดหน้าจอ

คลิกที่ Webcam  เพื่อกำหนดค่าการเปิดปิดกล้องเว็บแคม 

คลิกปุ่มสีแดง เพื่อเริ่มต้นการอัดหน้าจอ 


กดปุ่ม Start Recoeding เพื่อต้นการบันทึกหน้าจอ

บันทึกตามเวลาที่ต้องการครบแล้ว หยุดการบันทึก

ในโปรแกรม สามารถใส่ข้อความเพิ่มได้ ใส่แอ็ฟเฟ็กได้ และบันทึกหรือ share ออกไปเป็นไฟล์วีดีโอ นามสกุล .mp4 ได้ 



วิธีหาค่าซ้ำตารางข้อมูล Google Sheet

 ในการใช้งานโปรแกรมตารางข้อมูล Google Sheet ไปนานๆ สักพักหนึ่ง ข้อมูลที่เราบันทึกเข้าไปก็เริ่มสะสมและมีโอกาสที่จะเกิดข้อมูลซ้ำกัน โดยตั้งใจ หรือโดยไม่ตั้งใจก็ตาม 

สำหรับทิปเล็กน้อยๆ ในวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการหาข้อมูลซ้ำในตารางกัน 

ในคอลัมน์ A ID  จะมีข้อมูลซ้ำกันอยู่หลายข้อมูล เราจะมาทำไฮไลท์แถบสี ข้อมูลที่มีค่าซ้ำกัน 



เริ่มจากคลิกเลือกที่ช่อง ID  จากนั้นไปที่เมนู 


จะมีกรอบหน้าต่างด้านขวามือแสดงขึ้นมา 
คลิกที่ช่องไอค่อนตารางเล็กๆ เพื่อเลือกช่วงที่ต้องการหาค่าซ้ำ 
ตามตัวอย่างคือคอมลัมน์ A:2A:17 แล้วคลิกตกลง 



ตรงจัดรูปแบบเซลส์ ไม่ว่างเปล่า คลิกลงไป แล้วเลือก สูตรที่กำหนดเอง 


ระบุสูตรการหาค่าซ้ำโดยเลือกใช้ค่าฟังก์ชั่นเงื่อนไขการนับ คือ =COUNTIF($A$2:$A$17,A2)>1
ค่าสีที่ต้องการให้ระบาย ค่ากำหนดคือ สีเขียวอ่อน ตามตัวอย่างจะเปลี่ยนเป็นแถบ สีแดง ไฮไลท์แทน 
คลิก ตกลง

ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดหรือต้องแก้ไข ในคอลัมน์ A ID ก็จะแสดงแถบไฮไลท์สีแดง ช่องที่มีค่าซ้ำกันขึ้นมาให้เราโดยอัตโนมัติ 

หากท่านผู้อ่านมีคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการ สามารถโพสต์ comments หรือคำถามของท่านไว้ใต้โพสต์นี้โดยตรงครับ 

วิธีกรองข้อมูล Data filter ใน Google Sheet

 ตารางข้อมูล GS สามารถใช้งานร่วมกันในกลุ่มหรือ team โดยแชร์ข้อมูลบนตารางเดียวกัน ถ้าสมมุตติในคอลัมน์เดียวกัน มีข้อมูลที่ซ้ำกันหลายๆ แถวหรือ Reccord เราสามารถใช้ฟิลเตอร์หรือตัวกรองข้อมูล ให้แสดงเฉพาะข้อมูลที่เราต้องการได้ 

กรองข้อมูลส่วนตัวของเรา โดยไม่กระทบต่อผู้ใช้งานคนอื่น 


ใน Google Sheets, เปิดไฟล์ที่ต้องการใส่ตัวกรองข้อมูลขึ้นมา
คลิกเซลส์ที่มีข้อมูลที่ต้องการคัดกรอง
เลือก Dataกรองข้อมูลสร้างตัวกรอง.
คลิกรายการ drop-down ในคอลัมน์ข้อมูลและเลือกข้อมูลที่ต้องการกรอง การคัดกรองจะถูกบันทึกไว้ในฐานะที่เราเป็นคนทำการคัดกรองไว้
หลังระบุข้อมูลที่ต้องการคัดกรองแล้ว คลิก OK.
สามารถใส่ตัวกรองเพิ่มในแต่ละคอลัมน์ ตามขั้นตอน 1-5 (ถ้ามี)
ในกล่อง Name box, ใส่ชื่อตัวกรองส่วนตัวของเรา ถ้าไม่ระบุชื่อตัวกรอง ระบบจะใส่เป็นลำดับตัวเลขแทน

ข้อมูลที่ใส่ตัวกรองจะแสดงขึ้นมาใน Data Filter views. มุมมองตัวกรองจะมีแถบระบายสีเทาเข้มในคอลัมน์และส่วนหัวของแถว

การกรองข้อมูลสำหรับทุกคน


1 เลือกขอบเขตของการกรอง
2 คลิก Data Create a filter.
3 ไปที่ด้านบนของคอลัมน์คลิก Filter  เพื่อดูตัวเลือกการกรอง

ภาพประกอบการอธิบาย step by step 

การคัดกรองข้อมูล เฉพาะมุมมองส่วนตัวบุคคล ขั้นแรก คลิกที่ขอบเขต ชั้นของนักเรียน 

จากนั้นไปที่เมนู ข้อมูล>มุมมองตัวกรอง>สร้างมุมมองตัวกรองใหม่ 


คลิกที่ส่วนหัวของคอลัมน์ที่ต้องการกรอง ระบุข้อมูลที่ต้องการกรอง ตัวอย่างคือ ชั้นป.6 แล้วคลิก OK


ถ้าสามารถทำได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน เราจะได้ผลลัพธ์การกรองข้อมูลตามนี้ 



การเรียกดูข้อมูลที่กำหนดตัวกรองไว้แล้ว เมื่อเปิดไฟลขึ้นมาไปที่ ตัวกรอง แล้วเลือก รายการกรองที่กำหนดไว้


ดูตัวอย่างเพิ่มเติมที่คลิปในช่องยูทูป 

ถ้ามีคำถามข้อสงสัยประการใดสามารถโพสต์ไว้ใน Comments ได้เลยครับ 

การนำเข้าค่าพิกัดตารางเอ็กเซล CSV ในแผนที่ QGIS

 สำหรับโปรแกรมแผนที่ QGIS นั้น เราจะสามารถนำเข้าข้อมูลตารางพิกัดจากโปรแกรม Ms Excel ได้ โดยจะมีขั้นตอนและวิธีการประกอบดังนี้ 

ใช้โปรแกรม Google Earth ในการกำหนดค่าจุดพิกัด พื้นที่ทีต้องการประกอบการศึกษา อย่างน้อย 3-5 จุด โดยการปักหมุดลงพื้นที่ และคัดลอกค่าพิกัด แบบทศนิยม comma decimal 

ค่าพิกัดที่ต้องการคือ ค่า Longitude และ lattitude 


หลังกำหนดค่าตัวเลือกระบบพิกัดเป็น องศาทศนิยมแล้ว ให้เราปักหมุด ลงจุดต่างๆ บนแผนที่ จะมีกล่องคุณสมบัติของจุดแสดขึ้นมา ให้เราทำการ copy ค่าพิกัด ไปวางในในตาราง Excel 


ทำซ้ำไปตามจุด ต่างๆ ประมาณ 5 จุด เพื่อประกอบการศึกษา 


คลิกปุ่ม Save as เลือกชนิดไฟล์บันทึกเป็น CSV delimited ตามภาพ


บันทึกไฟล์เก็บไว้ที่เครื่องคอมของเรา จากนั้นเปิดโปรแกรม QGIS ขึ้นมา 

คลิก Layer >add layer>Add dlimited text layer ตามภาพ


จากนั้นคลิกปุ่ม ... เข้าไปเลือกไฟล์ excel นามสกุล CSV ที่เราบันทึกไว้เข้ามา เลือก Encoding =TIS-620 ถ้าตารางมีภาษาไทย และค่าช่อง x field เป็น Longitude ,ส่วน y field เป็น Lattitude 


จะเห็นจุดเล็กๆ บนหน้าต่างโปรแกรม QGIS สามารถเปิดแผนที่ OSM เข้ามาประกอบฉากหลัง ไปที่ เมนู Web >QuicMapService> OSM >OSM Standard


ก็จะมีแผนที่แสดงจุดต่างๆ ตามที่เราต้องการ ซึ่งวิธีนี้สำหรับใช้ในการที่เรามีข้อมูลมากๆ จะได้นำเข้ามาแสดง และแก้ไขได้ง่ายขึ้นเร็วขึ้น ถ้าท่านผู้อ่านมีข้อสงสัยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ก็สามารถโพสต์ไว้ด้านล่างนี้เลยนะครับ