วิธีการใช้งาน Google earth แบบ Off line

วิธีการใช้งาน Google earth แบบ ไม่ต้องต่อเน็ต บางครั้งที่เราใช้โปรแกรมแผนที่ออนไลน์ของกูเกิล ในการดูเส้นทาง สถานที่ต่างๆ บนโลกนั้น บางครั้งเราอาจจะไม่มีเน็ต ในการใช้งาน แต่เรายังต้องการที่จะใช้งานแผนที่นำทาง เช่นเดิม แบบนี้ จะมีขั้นตอนและวิธีการในการ ใช้งานหรือเปล่า มาดูกัน
ขั้นตอนแรก ให้เรา คลิกไปที่เมนูบาร์ ด้านบน คือ Preferences
คลิกแท็บ Caches
โปรแกรม Google earth จะยอมให้เราเก็บค่าข้อมูลแผนที่ ไว้ใช้งานบนเครื่อง เวลา ไม่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ได้สูงสุด 2 GB

จากนั้น แนะนำให้เรา ไปยังพื้นที่ ที่เราใช้งานเป็นประจำ โปรแรกมก็จะเก็บจุด หรือ โซนนั้นๆ ไว้ให้เราอัตโนมัติ จนเต็มความจุ 2 Gb
จากนั้น เมื่อเรา ไม่มีเน็ต หรือ ไม่ออนไลน์ เพื่อการรักษาความปลอดภัย โซนนั้นๆ พื้นที่นั้นๆ ก็จะยังสามารถเปิดใช้งาน ได้ โดยไม่มีการต่อเน็ต


สอนการสร้างฐานข้อมูลนักเรียน ด้วย Ms Access ตอนที่ 3

สำหรับเนื้อหาตอนที่ 3 จะมาสอนในเรื่องของการ ปรับแต่งแบบฟอร์มบันทึกข้อมูล ให้มีเทคนิคและลูกเล่น ในการบันทึกข้อมูล ให้สะดวกขึ้นและรวดเร็วขึ้น
โดยจะพิจารณา จากตารางข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ ที่มีข้อมูลเดิมๆ ซ้ำๆ หรือข้อมูลบังคับเลือก จากรายการที่กำหนดไว้ ล่วงหน้า ได้ เช่น ชื่อของจังหวัด และชื่อของอำเภอเป็นต้น
มาดูขั้นตอนและวิธีการ
ขั้นตอนแรก
ให้เราทำการสร้างตาราง ใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก 2 ตาราง
คือ ตารางชื่อ Amphoe
และตารางชื่อ Provice
โดยในแต่ละตารางก็จะมีแค่ 2 ฟิลด์เท่านั้น คือ ID กับ List
เปิดตารางข้อมูล และกรอกชื่อ อำเภอ และจังหวัด ลงไปให้เรียบร้อย

ขั้นตอน ต่อมา
ย้อนกลับไปที่ ตารางแรก คือ students แล้วเข้าไปที่มุมมองออกแบบ เพื่อทำการเปลียนคุณสมบัติของ ช่องฟิล์ด อำเภอ และตำบล เป็น ชนิด ข้อมูล ลิงค์ไปยัง ตารางตัวเลือก ที่เราสร้างเตรียมไว้

ทำการ Save และ ทดลอง เปิดแบบฟอร์ม ใหม่
ในช่อง อำเภอ และจังหวัด  จะมี รายการให้คลิก เลือก จากตาราง ที่เราสร้างได้ แล้ว
ก็จะ สะดวก และดูมีระดับขึ้นมาอีกหน่อย ในการใช้งาน


สำหรับแนวคิด นี้ ก็สามารถนำไปประยุกต์ และลองฝึกใช้งาน ในลักษณะอื่นๆ ตามที่เราสนใจ ได้
มีปัญหา หรือคำถาม สามารถฝากคำถาม ไว้ได้ ยินดี ตอบทุกคน ทุกคำถาม ครับ

สอนการสร้างฐานข้อมูลนักเรียน ด้วย Ms Access ตอนที่ 2

สำหรับเนื้อหาตอนนี้ จะต่อจากตอนที่ 1 เป็นการปรับแต่งฟอร์ม การบันทึกข้อมูล ให้สวยงามขึ้น และง่าย และรวดเร็ว สะดวกในการบันทึกข้อมูล และการใช้งาน
จะปรับแต่งอะไรได้บ้าง กับแบบฟอร์ม
ปรับในเรื่องการแทรกรูปภาพนักเรียน จากหน้าแบบฟอร์ม  ไฟล์ภาพที่รองรับ BMP,PNGหรือ JPEG
ขั้นตอนและวิธีการ
1 จากเมนูบาร์ ด้านบน ให้แทรก ตัวกรอบลิงค์ภาพ ลงในแบบฟอร์ม และปรับขนาด จัดตำแหน่งตามต้องการ
ในคุณสมบัติของกล่อง ให้เลือกเป็น data เป็นฟิลด์ตาราง ข้อมูล รูปภาพ หรือ Student_photo
2 ทดสอบการใช้งานแบบฟอร์ม นำเม้าส์ไปคลิก จะมีไอค่อน คลิปหนีบกระดาษ เล้กๆ แสดงขึ้นมา สามารถที่จะคลิกเข้าไปเลือก ไฟล์ภาพ ในเครื่อง มาแทรก ได้แล้ว


การปรับแต่งในส่วนที่ 2
เพิ่่่มตัวควบคุมอัตโนมัติ ลงบนแบบฟอร์ม
ปุ่มคำสั่ง เลื่อนระเบียน ไปข้างหน้า ย้อนกลับ ไประเบียนแรก หรือระเบียนสุดท้าย ปุ่มบันทึกระเบียน ปุ่มคัดลอกระเบียน ปุ่มเพิ่มระเบียนใหม่ เป็นต้น

สอนการสร้างฐานข้อมูลนักเรียน ด้วย Ms Access ตอนที่ 1

สำหรับครู อาจารย์หรือผู้สนใจใช้งานโปรแกรม Access Office 365 ในการสร้างฐานข้อมูลนักเรียน เพื่อเก็บบันทึกข้อมูลนักเรียน และบริการสืบค้นข้อมูลนักเรียน ออกแบบรายงาน การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล อย่างสะดวกและรวดเร็ว สามารถ ศึกษา และทำตาม Admin เลยครับ
คิดแบบเร็วๆ
วัตถุประสงค์ เพื่อเก็บข้อมูลนักเรียนในห้อง
ข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ

  • ชื่อ นามสกุล
  • วดป.เกิด
  • บ้านเลขที่
  • ตำบล
  • อำเภอ
  • จังหวัด
  • รหัสประจำตัวนักเรียน 
  • รูปภาพนักเรียน
  • เบอร์โทรศัพท์
  • ผู้ปกครอง
  • เบอร์โทรผู้ปกครอง 

ขั้นตอนการทำงาน
ออกแบบตารางข้อมูล ชื่อ student
จากนั้น ก็สร้างแบบฟอร์มสำหรับการบันทึกข้อมูล
ตัวอย่างการบันทึกข้อมูลนักเรียนที่ต้องการ


พร้อมแล้ว ไปกันเลย
ตอนที่ 2 การปรับแต่ง แก้ไขการออกแบบข้อมูล ให้มีความง่ายในการบันทึกข้อมูล