พื้นฐานของสไลด์ Powerpoint 2010

เริ่มต้นการเรียนรู้การสร้างงานนำเสนอด้วย Powerpoint 2010 จำเป็นอย่างมากที่เราจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานของ สไลด์ ของ Powerpoint 2010 เพื่อที่จะเป็นพื้นบานที่สำคัญในการสร้างสไลด์งานนำเสนอของเราในรูปแบบต่างๆ ตามความต้องการของเราต่อไป แผ่นงาน หรือ สไลด์ เปรียบเหมือน แผ่นกระดาษนำเสนอ หรือกระดาน สำหรับให้เราขีดเขียน วาดรูป ใส่สีสันลงไป ให้สวยงาม เพื่อสื่อหรือนำเสนอให้ผู้รับชมของเราได้เข้าใจนั้นเอง โดย สไลด์ Powerpoint 2010 ก็จะประกอบไปด้วย ข้อความ ตาราง ภาพ วีดีโอ เสียงบรรยาย แผนผัง และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะต้องอยู่ในสไลด์นำเสนอของเรานั้นเอง นอกจากนั้นโดยพื้นฐานการเรียนรู้ เราควรจะเข้าใจมุมมองการใช้งาน Powerpoint 2010 การคัดลอง และวางสไลด์เพิ่มเติม ในจุดที่ต้อง การย้าย การสลับจุด หรือตำแหน่งสไดล์ของเราได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

ลองดูตัวอย่างของ สไลด์ จะมี Place Holder หรือกล่องบรรจุ การใช้งาน ก็นำเม้าส์ไปคลิกที่ กล่องข้อความ เช่น ชื่อเรื่อง หรือ ข้อความธรรมดา รวมทั้งการนำเม้าส์ไป hover หรือชี้ค้างไว้บนสัญญลักษณ์หรือไอคอนเล้กๆ จะแสดงรายการที่เราสามารถใส่เข้าไปใน สไลด์ของเราได้ เช่น ภาพ ตาราง แผนผัง กราฟ วีดีโอ เสียง เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้ว ก็จะเป็นแนวภาพนิ่ง และข้อความเป็นส่วนใหญ๋
ต่อมาที่สำคัญอีกตัวเรียกว่า Slide Layout หรือโครงร่างสไลด์นั้นเอง เมื่อเรานำเม้าส์ไปคลิกเลือกที่โครงร่างสไลด์ จะมีรูปย่อๆ ขนาดเล็กแสดงขึ้นมาให้เรา เลือกโครงร่างแม่แบบสไลด์ สำหรับการใช้งาน ซึ่งง่ายๆ ครับ แต่มีประโยชน์มากๆ ช่วยให้การทำงานสะดวกและรวดเร็วมากขึ้นจริงๆ โดยโครงร่างที่นิยม คือมีชื่อเรื่อง เป็น Title และส่วนที่เป็นเนื้อหาหรือ Content นั้นเอง โดยภายในเนื้อหา จะสามารถใส่ข้อมูล เป็นข้อความธรรมดา ตาราง แทรกแผนผังองค์กร คลิปวีดีโอ และอื่นๆ ได้ตามเหมาะสมครับ

สำหรับใครที่ไม่ต้องการโครงร่างสไลด์ ที่ทาง  Powerpoint 2010 เตรียมไว้ให้ ก็สามารถใส่กล่องข้อความของเราเองได้ โดยไปที่เมนู แทรก และเลือก กล่องข้อความ จากนั้นก็เขียนข้อความลงไปเหมือนปกติ แบบนี้ไม่แนะนำครับ ค่อยข้างช้าและอาจจะสับสนได้ง่าย เอาเป็นว่ารู้ไว้ใช่ว่าละกันครับ ลองดูตามตัวอย่างไลด์นะครับ ผมจะเลือกมาเป็นแผ่นสไลด์เปล่าๆ ที่ไม่มีกล่องบรรจุอะไรเลย การแทรกกล่องข้อความเอง บนเมนูแทรก จากนั้นคลิก แทรกกล่องข้อความ
การลบกล่องข้อความหรือ Place Holder บนไสลด์ สามารถทำได้โดยการนำเม้าส์คลิกที่กล่องข้อความนั้นๆ จากนั้นใช้แป้น Backspace หรือ Del เพื่อลบกล่องข้อความออกไป
การเปลี่ยนโครงร่างสไลด์จากเดิมเป็นโครงร่างแบบใหม่ สามารถทำได้โดยการไปที่เมนูแบบริบบอน หน้าแรกหรือ Home คลิกโครงร่างบทความ จากนั้นคลิกเลือกโครงร่างแบบใหม่ตามที่ต้องการ

โครงร่างของสไลด์จะถูกปรับเปลี่ยนเป็นโครงร่างแบบใหม่ ตามที่เราต้องการทันที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น